CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    แนวทางในการวิจารณ์ภาพถ่าย ..... A Guide For Critiquing Photographic Images

    แนวทางในการวิจารณ์ภาพถ่าย

    บทความ โดย Zguy จาก http://www.myfourthirds.com

    ผู้ถอดความ lexusman (.....โดยได้รับอนุญาต )

    บทความนี้เรียบเรียงมาจาก วารสารการถ่ายภาพ Canadian Camera magazine (Spring 2004) by Andre Cabuche, AFIAP.

    จุดประสงค์หลักของการวิจารณ์ภาพ ควรที่จะเป็นการช่วยผู้ถ่าย ให้ได้ปรับปรุง ผลงานการถ่ายภาพนั้นๆ โดยควรเพิ่มความเข้าใจ และความรู้ความชำนาญ ทั้งในแง่ ของเทคนิคการถ่ายภาพ และในแง่ทัศนศิลป์

    ในการนี้ผู้วิจารณ์ควรที่จะสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในกระบวนความคิดของผู้ถ่ายภาพเอง ไม่ควรพยายามไปเปลี่ยนให้ผู้ถ่ายภาพต้องทำตามหรือเลียนแบบความคิดหรือแนวทางของผู้วิจารณ์ อันจะกลายเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก
    ( การพยายามบอกให้คนอื่นๆ เลียนแบบตัวเอง เหมือนเป็น คำสาป ต่อการสร้างสรรค์ ..สำนวนภาษา-ผู้ถอดความ)

    มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทราบเป้าหมายในการถ่ายภาพนั้นๆ ของผู้ถ่ายก่อน เช่น เป็นการถ่ายเพื่อฝึกฝน การถ่ายเพื่อเล่าเรื่อง การบันทึกเหตุการณ์ทางสังคม การถ่ายภาพแนวศิลป์ หรือการถ่ายภาพเพื่อส่งเข้าประกวดแข่งขัน

    เมื่อทราบแล้ว ผู้วิจารณ์ ควรที่จะเน้นมุ่งช่วยเหลือผู้ถ่ายให้บรรลุผลตามทางที่เขาต้องการ

    ๑. ความสมบูรณ์ด้านเทคนิค

    ทั้ง บรรณาธิการ ผู้ตัดสิน ผู้ประเมิน ต่างๆ ล้วนแต่เห็นพ้องกันว่า ภาพที่ดี ควรที่จะมีพื้นฐานแสดงออกถึงเทคนิคต่างๆ เหล่านี้อย่างสมบูรณ์พร้อม คำถามด้านเทคนิคที่เราต้องมองหาคำตอบในภาพที่จะวิจารณ์ คือ

    ๑.๑ โฟกัส
    ภาพชัดหรือไม่ ถ้าไม่ชัด มันไม่ชัดอย่างตั้งใจ และสมบูรณ์แบบในความไม่ชัดนั้นหรือไม่ (ในอีกนัยหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการนำเสนอความไม่ชัดนั้นหรือไม่)

    ๑.๒ ความกระจ่าง
    ภาพมีรอยต่างๆ หรือไม่ มีจุดเปื้อนฝุ่นต่างๆ มีแสงแฟล์ร หรืออื่นๆ หรือไม่

    ๑.๓ การรับแสง (การเผยแสง – Exposure)
    ภาพสว่างไป มืดไป หรือ พอดีแล้ว

    ๑.๔ การถ่ายทอดสภาพแสง
    มันตัดกันเกินไป หรือภาพแบนไป หรือ พอดีแล้ว
    ๑.๕ การถ่ายทอดสี
    สีเที่ยงตรงหรือไม่ หรือเป็นสีในแบบต่างๆ ที่ผิดไปจากปกติ อย่างตั้งใจ หรือไม่

    ๒. องค์ประกอบภาพ

    มีผลอย่างมากจากอุปกรณ์คือตัวกล้อง ระยะช่วงเลนส์ที่ใช้
    เป็นส่วนที่สำคัญ ในการนำภาพที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางเทคนิค ให้เข้าสู่ความงามทางศิลป์

    ๒.๑ ความสมดุล
    การวางตำแหน่ง ต่างๆ ได้ แนวที่ควร หรือไม่

    ๒.๒ ความเป็นเหตุผล
    การนำเสนอได้ผลดีหรือไม่ มองแล้วราบรื่นหรือไม่

    ๒.๓ ความมุ่งหมาย การนำเสนอ
    มีจุด เด่นที่น่าสนใจมอง หรือ นำเสนอในรูปแบบต่างๆ อื่นๆ (pattern,design)

    ๒.๓ ความชัดเจน
    มันสมบูรณ์ หรือขาดอะไรไป


    ๓. การดึงดูดทางอารมณ์
    เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ในการที่จะ นำภาพที่สมบูรณ์พร่อมทางเทคนิค และทางศิลป์ในข้างต้น ไปสู่ความเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ เป็นที่จดจำ

    ๓.๑ ความเป็นไป (Dynamic)
    ภาพนั้นดึงความสนใจของคุณในทันที หรือไม่

    ๓.๒ การกระตุ้น
    ภาพนั้นก่อให้คุณเกิดจินตนาการ หรืออารมณ์คล้อยตามหรือไม่

    ๓.๓ สรรค์สร้าง
    ภาพนั้น ทำให้มองเห็น สิ่งธรรมดาๆ ในแบบใหม่ๆที่โดดเด่นหรือไม่

    ๓.๔ ความแปลก
    ภาพนั้นแสดงสิ่งแปลกๆ สิ่งผิดปกติทั้งหลาย ในมุมมองที่โดดเด่น หรือไม่

    (หมายเหตุ.. การถอดความไม่ได้แปลตามตัวอักษร แต่เรียบเรียงในความหมายที่แฝงอยู่ คำที่ใช้จึงอาจไม่ตรงคำศัพท์ได้ .. ผู้ถอดความ)


    ..

    แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 47 09:36:09

    จากคุณ : lexusman - [ 13 พ.ย. 47 21:18:24 ]


 
 



คลิกเพื่ออ่านกติกามารยาท
คลิกเพื่ออ่านHelp & FAQ
ความคิดเห็น : คลิกที่นี่เพื่อใช้งาน icon
ชื่อ : ตรวจสอบสถานะของ member ที่นี่
ไฟล์ประกอบ : (ไม่เกิน 150 K / Member เท่านั้น / Preview ไม่ได้)
(gif, jpg, png, mid, wav, mp3, wma, swf)
E-Card : ยินดีให้นำไฟล์ประกอบนี้ (เฉพาะ gif, jpg, png, swf) ไปให้บริการ E-Card ทางเว็บ
(เพื่อป้องกันการถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ การอนุญาตควรมาจากเจ้าของรูปโดยแท้จริง)
ยินดี ไม่ยินดี
Photo2Mobile : ยินดีให้นำไฟล์ประกอบนี้ (เฉพาะ gif, jpg, png) ไปให้บริการส่งรูปเข้ามือถือจอสี
(เพื่อป้องกันการถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ การอนุญาตควรมาจากเจ้าของรูปโดยแท้จริง)
ยินดี ไม่ยินดี
  : ไม่อนุญาตให้แสดงผลผ่านระบบมือถือ
 
(ส่งไฟล์ประกอบ Preview ไม่ได้) PANTIP Toys
 
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป