BAFS - เขาว่ากันว่าเป็นเสือนอนกิน !?

สวัสดีครับ ผมมีข้อมูลมาแบ่งปันเพื่อนที่น้องนักลงทุนทุกท่านน่ะครับ ผมอยากจะแบ่งกันการสรุปเนื้อหาของผม ขอฝากตัวด้วยนะครับ

เนื่องจากผมอัพโหลดรูปไม่เป็น หากใครอยากเห็นแบบมีรูปด้วย ข้อมูลเต็มจะอยู่ในลิ้งนี้น่ะครับ  อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17
https://www.facebook.com/notes/investdiary-แบ่งปันความรู้การลงทุน/bafs-เขาว่ากันว่าเป็นเสือนอนกิน-/875117642623484

======================================================================
======================================================================

บริษัทไม่ใช่สายการบิน แต่ที่ทำให้เป็นเสือนอนกินก็เพราะว่ามันคือบริษัทเดียวที่ได้สิทธิ์ในการจ่ายน้ำมันเครื่องบินในสนามบิน หรือผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ แต่สรุปแล้วก็จะได้รู้กันว่าเป็นเสือนอนกินจริงๆหรือเปล่า

ข้อมูลทั่วไป

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จํากัด
ให้บริการระบบจัดเก็บและเติมน้ำมันอากาศยาน 5 แห่ง
สนามบินสุวรรณภูมิ
สนามบินดอนเมือง
สนามบินสมุย
สนามบินสุโขทัย
สนามบินตราด
เป็นบริษัทผูกขาดการจ่ายน้ำมันถึง 5 สนามบิน ดีเนอะ
มีบริษัทย่อย 3 บริษัท
TARCO ขนส่งน้ำมันผ่านท่อใต้ดิน สนามบินสุวรรณภูมิ
FPT เก็บรักษาขนส่งน้ำมันผ่านท่อใต้ดินจากโรงกลั่นน้ำมันไปยังสถานีบริการน้ำมัน สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง
IPS รับเหมาเติมน้ำมัน สนามบินสมุย สุโขทัยและตราด

บริษัท TARCO ได้รับสัมปทานระบบขนส่งน้ำมันในสนามบินสุวรรณภูมิจาก AOT เป็นเวลา 30 ปี โดยให้ผลประโยชน์ AOT
ให้หุ้น 10%
รายได้ 2% จากยอดขาย
ได้รับสิทธิระบบส่งน้ำมันสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 จาก AOT เป็นเวลาเหลืออีก 18 ปี โดยให้ผลประโยชน์ AOT
ให้หุ้นเพิ่มเป็น 25%
รายได้ 18% จากยอดขาย

รายได้ส่วนใหญ่มาจากบริษัทหลัก และ TARCO/FPT มีสัดส่วนพอๆกัน (JP-One เข้าไปรวมใน FPT)
รายได้จากสุวรรณภูมิอยู่ที่ 82% ดอนเมือง 17%
รายได้โตขึ้น ความต้องการน้ำมันมีการเติบโต

ยอดขายน้ำมันที่สนามบินสุวรรณภูมิเฉลี่ยนวันละ 11.9 ล้านลิตร
ยอดขายน้ำมันที่สนามบินดอนเมืองเฉลี่ยนวันละ 2.5 ล้านลิตร

เที่ยวบินของสุวรรณภูมิเติบโตขึ้นแต่น้ำมันไม่มากขึ้น !? เครื่องบินประหยัดน้ำมันหรืออย่างไร

เที่ยวบินที่ดอนเมืองก็เพิ่มขึ้นมาก ช่วงนี้คนไทยเที่ยวกันเยอะ แต่ละวันในเฟสบุ้คต้องมีเพื่อนสักคนไปโผล่ที่ดอนเมือง การใช้น้ำมันก็เพิ่มขึ้นตามเที่ยวบิน
การแข่งขันนั้นบริษัทค่อนข้างเป็น Monopoly โดยครองสัดส่วนถึงกว่า 80%
การแข่งขันนอกประเทศกับท่าอากาศยานอื่นๆก็ยังถือว่าได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงกลาง AEC ทำให้ได้รับผลประโยชน์ทำให้มีเที่ยวบินมากขึ้น และแน่นอน บริการเติมน้ำมันก็ต้องมากขึ้น
ความเสี่ยง
รายได้เติบโตอ้างอิงกับการท่องเที่ยว 100% เพราะฉะนั้น หากท่องเที่ยวเกิดอะไรขึ้น ก็จะได้รับผลตามมาทันที
สัมปทานหมดสัญญา แต่การที่จะหมดสัญญาก็อีกประมาณ 20 ปี จึงไม่น่าเป็นห่วงมาก

========================

งบการเงิน

รายได้

รายได้มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากการที่มีการเติบโตในการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีเที่ยวบินมากขึ้น รายได้แบ่งเป็นรายได้จากบริการเติมน้ำมัน 80% และบริการขนส่งน้ำมัน 20%
อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นเนื่องจากเกิด Economy of scale

กำไรสุทธินั้นก็ดีขึ้นจากปีก่อน แต่ที่กำไรสุทธิมีความผันผวนเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารนั้นผันผวน

ฐานะทางการเงิน

บริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีลูกหนี้เพิ่มไม่มาก

หนี้สินส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินระยะยาวจากสถาบัน เพื่อลงทุนในโครงการอนาคต เพื่อสวัสดิการณ์พนักงาน
มีส่วนทุนมากกว่าส่วนหนี้สิน ค่อนข้างปลอดภัย

กระแสเงินสด

บริษัทมีกระแสเงินสดรับที่ดีมาโดยตลอด และเพิ่มขึ้นทุกๆปี
บริษัทมีการลงทุนสร้างถังเก็บน้ำมันใหม่ และไม่จำเป็นต้องปรับปรุงโรงงานเก่าเพื่อให้คงสภาพการแข่งขัน

อัตราส่วน

ระยะเวลาเก็บหนี้ค่อนข้างสั้นกว่าการจ่ายหนี้ บริษัทมีความได้เปรียบในการต่อรองของลูกค้าและฝั่ง supply
อัตรากำไรสุทธิดีมาก 25% + และมี ROE  ที่ใช้ได้เกิน 15% บริษัทแสดงให้เห็นผ่านงบการเงินแล้วว่าการเป็นผู้ผูกขาดบริการน้ำมันอย่างแท้จริง และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกตราบเท่าที่สัมปทานยังคงอยู่

บริษัทนั้นดูแล้วไม่มีเรื่องราวที่น่าวิตกกังวล เนื่องจากการเติบโตค่อนข้างแน่นอนไปกับการเติบโตของ AOT ซึ่งปัจจุบันก็มีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนต้องเริ่มแผนสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2 คู่แข่งก็ไม่มีเพราะว่าการเข้ามาได้นั้นต้องได้รับสัมปทานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในความเป็นเสือนอนกิน มีรายได้ที่แน่นอน กว่าสัมปทานจะหมดก็อีก 20 ปี ซึ่งถือว่าระยะค่อนข้างยาวมากและยังเหลือเวลาให้ลงทุนอีกมาก แต่ก็อาจจะต้องติดต่อดูสถานการณ์เป็นพักๆ เผื่อมีเหตุปัจจัยอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วทำให้บริษัทนั้นดีขึ้นหรือแย่ลง


ที่มา https://www.facebook.com/investdiary

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่