สืบเนื่องมาจากกระทู้ข้างล่างที่ถกกันว่าระบบการศึกษาของไทยล้มเหลวหรือไม่
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K13122210/K13122210.htmlเราขออนุญาตแตกประเด็นโดยการแชร์มุมมองจากสองประสบการณ์ที่เราพบและมักจะคิดเปรียบเทียบกันอยู่เสมอนะคะ
ปัจจุบันเราอาศัยอยู่ที่ประเทศสวีเดน มีลูกชาย9ขวบเรียนอยู่ที่นี่ค่ะ เป็นลูกครึ่ง
อย่างที่ทุกคนทราบ เด็กที่นี่เรียนฟรี อาหารฟรี อุปกรณ์การศึกษาฟรีค่ะ
โรงเรียนที่นี่เริ่ม8.15 - 13.30 หลังจากนั้น หากผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะรับกลับ สามารถฝากลูกอยู่ในรร.ได้จนถึง18.00แต่ต้องจ่ายเป็นค่าดูแลพิเศษนอกเวลาประมาณ4200บาทไทยต่อเดือน
ในช่วงนอกเวลาดังกล่าวเด็กจะเล่นกับเพื่อน ซึ่งสภาพแวดล้อมและเครื่องเล่นของโรงเรียนเอื้อต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมาก มีต้นไม้ให้ห้อยโหนป่ายปีนอีกต่างหาก
เข้าเรื่องกันค่ะ
วันที่เรียนหนังสือของลูกเราคือ จ/อ/พ พฤเป็นวันกีฬา ศุกร์โรงเรียนพาไปว่ายน้ำ(ในฤดูร้อน)
อีกทั้งมีการพาเด็กไปพาร์ค มิวเซียมฯลฯเป็นประจำ
มีการให้คนต่างชาติเช่นไทย ญี่ปุ่น จีนไปสอนภาษาเป็นคอร์สสั้นโดยไม่ได้วัดผลเป็นคะแนนเพียงแต่อยากเปิดโลกทรรศน์เด็กเท่านั้น
เราเห็นงานการฝีมือของลูกชายแล้วอึ้ง ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประเทศนี้ถึงเก่งเรื่องงานช่างและดีไซน์ ทำกันเสร็จที่รร.แล้วเอากลับมาอวดพ่อแม่ที่บ้าน ไม่มีหรอกที่พ่อแม่จะต้องเดือดร้อนไปซื้อหาหรือทำแทนให้
การบ้านจะใช้ระบบสั่งล่วงหน้าและมีใบแจ้งฝากมาในแฟ้มให้ผู้ปกครองรับทราบเป็นการฝึกให้เด็กรับผิดชอบโดยมีผู้ปกครองคอยดูแลอีกชั้น
นอกจากการบ้านพวกวิชาสามัญทั่วไปแล้ว ก็จะมีการให้หัวข้อให้เขียนส่ง ไม่มีการบังคับเรื่องความยาว บางทีลูกเราเขียนแค่2-3ประโยคก็เสร็จ
สิ่งที่สำคัญคือหัวข้อที่ให้เด็กเขียน มันไม่ใช่หัวข้อเพ้อๆหรือเลื่อนลอย คอนเซปท์ของมันคือทำให้เด็กรู้จักและค้นพบตัวเอง
แต่สุดยอดแห่งความน่าประทับใจของการศึกษาที่นี่คือ วิธีการจัดการกับลูกชายของเรา
ลูกชายเราเป็นเด็กสมาธิสั้น ซน พูดเก่ง เค้าใช้วิธีแยกลูกเรากับเด็กอีกคนที่เป็นเหมือนกันมาเรียนกับครูพิเศษทางนี้ในเรื่องการเรียน ให้จอยกับคลาสรวมในบางวิชาที่ความซนไม่เป็นอุปสรรค ทำอยู่หนึ่งเทอมแล้วมีการประเมินว่าสามารถกลับไปร่วมเรียนกับชั้นเรียนรวมที่มีระดับเหมาะสมได้ ถ้าหากยังมีปัญหาประเมินหาวิธีที่เหมาะสมต่อไป
ถ้าเป็นโรงเรียนในไทย เป็นไปได้ว่าเค้าจะมองว่าลูกเราเป็นตัวปัญหาของชั้นเรียนแทนที่จะจัดระบบการเรียนที่เหมาะสมให้กับเด็ก
ผลคือลูกชายเราเก่งเรื่องเทคโนโลยีมาก โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษเก่งเลยทีเดียว ชอบแสดงออกอีกต่างหาก
กลับมาบ้านเรา เราเห็นหลานสาวเราอายุ7ขวบ เรียนอยู่รร.เอกชนเรียนหนักมาก ดูตารางสอนเค้าแล้วรู้สึกอึ้ง มีจะเป็น10วิชาได้มั้ง ก่อนสอบแม่ต้องอยู่ติวให้จนค่ำ
เราว่าระบบการศึกษาบ้านเรามุ่งแต่จะให้เด็กเรียนเก่งแต่ไม่เอื้อให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองชอบและถนัดอะไร บ้านเรามีหมอ วิศวกรเยอะแยะ เพราะว่าเรียนเก่งต้องมาสายนี้ แล้วก็มีครูที่ไม่ได้รักการสอนก็ไม่น้อย ยังไม่นับว่ามีคนอีกเยอะมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นหรืออยากทำอะไร
จะว่าไปแล้วเราแอบสงสัยว่าพวกนักการศึกษาบ้านเราเค้ามีความรู้ความเข้าใจและ " "เข้าถึง"เรื่องการศึกษาจริงๆหรือเปล่าหรือว่าเพียงเพราะจบตรงมาทางนี้ จริงๆนะ
ขอแชร์มุมมองเชิงเปรียบเทียบจากประเด็นเรื่อง การศึกษาไทยล้มเหลว(หรือไม่)
เราขออนุญาตแตกประเด็นโดยการแชร์มุมมองจากสองประสบการณ์ที่เราพบและมักจะคิดเปรียบเทียบกันอยู่เสมอนะคะ
ปัจจุบันเราอาศัยอยู่ที่ประเทศสวีเดน มีลูกชาย9ขวบเรียนอยู่ที่นี่ค่ะ เป็นลูกครึ่ง
อย่างที่ทุกคนทราบ เด็กที่นี่เรียนฟรี อาหารฟรี อุปกรณ์การศึกษาฟรีค่ะ
โรงเรียนที่นี่เริ่ม8.15 - 13.30 หลังจากนั้น หากผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะรับกลับ สามารถฝากลูกอยู่ในรร.ได้จนถึง18.00แต่ต้องจ่ายเป็นค่าดูแลพิเศษนอกเวลาประมาณ4200บาทไทยต่อเดือน
ในช่วงนอกเวลาดังกล่าวเด็กจะเล่นกับเพื่อน ซึ่งสภาพแวดล้อมและเครื่องเล่นของโรงเรียนเอื้อต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมาก มีต้นไม้ให้ห้อยโหนป่ายปีนอีกต่างหาก
เข้าเรื่องกันค่ะ
วันที่เรียนหนังสือของลูกเราคือ จ/อ/พ พฤเป็นวันกีฬา ศุกร์โรงเรียนพาไปว่ายน้ำ(ในฤดูร้อน)
อีกทั้งมีการพาเด็กไปพาร์ค มิวเซียมฯลฯเป็นประจำ
มีการให้คนต่างชาติเช่นไทย ญี่ปุ่น จีนไปสอนภาษาเป็นคอร์สสั้นโดยไม่ได้วัดผลเป็นคะแนนเพียงแต่อยากเปิดโลกทรรศน์เด็กเท่านั้น
เราเห็นงานการฝีมือของลูกชายแล้วอึ้ง ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประเทศนี้ถึงเก่งเรื่องงานช่างและดีไซน์ ทำกันเสร็จที่รร.แล้วเอากลับมาอวดพ่อแม่ที่บ้าน ไม่มีหรอกที่พ่อแม่จะต้องเดือดร้อนไปซื้อหาหรือทำแทนให้
การบ้านจะใช้ระบบสั่งล่วงหน้าและมีใบแจ้งฝากมาในแฟ้มให้ผู้ปกครองรับทราบเป็นการฝึกให้เด็กรับผิดชอบโดยมีผู้ปกครองคอยดูแลอีกชั้น
นอกจากการบ้านพวกวิชาสามัญทั่วไปแล้ว ก็จะมีการให้หัวข้อให้เขียนส่ง ไม่มีการบังคับเรื่องความยาว บางทีลูกเราเขียนแค่2-3ประโยคก็เสร็จ
สิ่งที่สำคัญคือหัวข้อที่ให้เด็กเขียน มันไม่ใช่หัวข้อเพ้อๆหรือเลื่อนลอย คอนเซปท์ของมันคือทำให้เด็กรู้จักและค้นพบตัวเอง
แต่สุดยอดแห่งความน่าประทับใจของการศึกษาที่นี่คือ วิธีการจัดการกับลูกชายของเรา
ลูกชายเราเป็นเด็กสมาธิสั้น ซน พูดเก่ง เค้าใช้วิธีแยกลูกเรากับเด็กอีกคนที่เป็นเหมือนกันมาเรียนกับครูพิเศษทางนี้ในเรื่องการเรียน ให้จอยกับคลาสรวมในบางวิชาที่ความซนไม่เป็นอุปสรรค ทำอยู่หนึ่งเทอมแล้วมีการประเมินว่าสามารถกลับไปร่วมเรียนกับชั้นเรียนรวมที่มีระดับเหมาะสมได้ ถ้าหากยังมีปัญหาประเมินหาวิธีที่เหมาะสมต่อไป
ถ้าเป็นโรงเรียนในไทย เป็นไปได้ว่าเค้าจะมองว่าลูกเราเป็นตัวปัญหาของชั้นเรียนแทนที่จะจัดระบบการเรียนที่เหมาะสมให้กับเด็ก
ผลคือลูกชายเราเก่งเรื่องเทคโนโลยีมาก โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษเก่งเลยทีเดียว ชอบแสดงออกอีกต่างหาก
กลับมาบ้านเรา เราเห็นหลานสาวเราอายุ7ขวบ เรียนอยู่รร.เอกชนเรียนหนักมาก ดูตารางสอนเค้าแล้วรู้สึกอึ้ง มีจะเป็น10วิชาได้มั้ง ก่อนสอบแม่ต้องอยู่ติวให้จนค่ำ
เราว่าระบบการศึกษาบ้านเรามุ่งแต่จะให้เด็กเรียนเก่งแต่ไม่เอื้อให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองชอบและถนัดอะไร บ้านเรามีหมอ วิศวกรเยอะแยะ เพราะว่าเรียนเก่งต้องมาสายนี้ แล้วก็มีครูที่ไม่ได้รักการสอนก็ไม่น้อย ยังไม่นับว่ามีคนอีกเยอะมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นหรืออยากทำอะไร
จะว่าไปแล้วเราแอบสงสัยว่าพวกนักการศึกษาบ้านเราเค้ามีความรู้ความเข้าใจและ " "เข้าถึง"เรื่องการศึกษาจริงๆหรือเปล่าหรือว่าเพียงเพราะจบตรงมาทางนี้ จริงๆนะ